จำนวนผู้เข้าชม

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะภูมิประเทศทวีปเอเชีย

ลักษณะภูมิประเทศ
ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันหลายชนิด ในส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ได้ 5เขตคือ
1.เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปเอเชียในเขตไซบีเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขต โครงสร้างแบบหินเก่าที่เรียกว่า แองการาชีลด์ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำอ๊อบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีน่าไหลผ่าน บริเวณนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมาก แต่ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ราบ เพราะเนื่องจากมีภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทำการเพาะปลูกไม่ได้
2.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ และมักมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนใหญ่อยู่ทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มฮวงโห ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส ที่ราบลุ่มแม่น้ำยูเฟรทีส ในประเทศอิรัก ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินตอนล่าง ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในประเทศสหภาพพม่า
3.เขตเทือกเขาสูง เป็นเขตเทือกเขาหินใหม่ ตอนกลางประกอบไปด้วยที่ราบสูง และเทือกเขามากมาย เทือกเขาสูงเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาที่แยกตัว ไปจากจุดรวมที่เรียกว่า ปามีร์นอต หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ปามีร์ดุนยา แปลว่า หลังคาโลก จากปามีร์นอตมีเทือกเขาสูง ๆ ของทวีปเอเชียหลายแนว ซึ่งอาจแยกออกได้ดังนี้ เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา และเทือกเขาที่มีแนวต่อเนื่องลงมาทางใต้ มีบางส่วนที่ จมหายไปในทะเล และบางส่วนโผล่ขึ้นมาเกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ถัดจากเทือกเขาหิมาลัยขึ้นไปทางเหนือ มีเทือกเขา ที่แยกไปทางตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาคุนลุน เทือกเขาอัลตินตัก เทือกเขานานชาน และแนวที่แยกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เทือกเขาเทียนชาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาคินแกน เทือกเขายาโบลนอย เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโกลีมา เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันตก แยกเป็นแนวเหนือและแนวใต้ แนวเหนือ ได้แก่ เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูชร์ ส่วนแนวทิศใต้ ได้แก่ เทือกเขาสุไลมาน เทือกเขาซากรอส ซึ่งเมื่อเทือกเขาทั้ง 2 นี้มาบรรจบกันที่อาร์เมเนียนนอตแล้ว ยังแยกออกอีกเป็น 2 แนว ในเขตประเทศตุรกี คือ แนวเหนือเป็นเทือกเขาปอนติก และแนวใต้เป็นเทือกเขาเตารัส
4.เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป เขตที่ราบสูงตอนกลางเป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างเทือกเขาที่หินใหม่ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบตซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ และสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงยูนนาน ทางใต้ของประเทศจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะเหมือนแอ่ง ชื่อ ตากลามากัน ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชานกับ เทือกเขาคุนลุนแต่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากและมีอากาศแห้งแล้งเป็นเขตทะเลทราย
5.เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงขนาดใหญ่ ทางตอนใต้ของทวีปเอเชียซึ่งมีความสูงไม่มากเท่ากับที่ราบสูง ทางตอนกลางของทวีป ที่ราบสูงดังกล่าว ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่าน ในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกีและที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:26 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: ลักษณะภูมิประเทศทวีปเอเชีย
เมืองหลวงแต่ละประเทศ

ประเทศ
ชื่อเมืองหลวง
Afghanistan
Kabul
Albania
Tirana
Algeria
Algiers
Andorra
Andorra la Vella
Angola
Luanda
Antigua and Barbuda
St. John's
Argentina
Buenos Aires
Armenia
Yerevan
Australia
Canberra
Austria
Vienna
Azerbaijan
Baku
Bahamas
Nassau
Bahrain
Al-Man?mah
Bangladesh
Dhaka
Barbados
Bridgetown
Belarus
Mensk (Minsk)
Belgium
Brussels
Belize
Belmopan
Benin
Porto-Novo (official)
Bhutan
Thimphu (official)
Bolivia
Sucre, 204,200; Administrative capital: La Paz
Bosnia and Herzegovina
Sarajevo
Botswana
Gaborone
Brazil
Bras?lia
Brunei
Bandar Seri Begawan
Bulgaria
Sofia
Burkina Faso
Ouagadougou
Burundi
Bujumbura
Cambodia
Phnom Penh
Cameroon
Yaound
Canada
Ottawa, Ontario
Cape Verde
Praia
Central African Republic
Bangui
Chad
N'Djamena
Chile
Santiago
China
Beijing
Colombia
Santaf? de Bogot
Comoros
Moroni (on Grande Comoro)
Congo, Democratic Republic of the
Kinshasa
Congo, Republic of
Brazzaville
Costa Rica
San Jos
C?te d'Ivoire
Yamoussoukro (official)
Croatia
Zagreb
Cuba
Havana
Cyprus
Lefkosia (Nicosia) (in government-controlled area)
Czech Republic
Prague
Denmark
Copenhagen
Djibouti
Djibouti
Dominica
Roseau
Dominican Republic
Santo Domingo
East Timor
Dili
Ecuador
Quito
Egypt
Cairo
El Salvador
San Salvador
Equatorial Guinea
Malabo
Eritrea
Asmara
Estonia
Tallinn
Ethiopia
Addis Ababa
Fiji
Suva (on Viti Levu)
Finland
Helsinki
France
Paris
Gabon
Libreville
Gambia
Banjul
Georgia
Tbilisi
Germany
Berlin
Ghana
Accra
Greece
Athens
Grenada
St. George's
Guatemala
Guatemala City
Guinea
Conakry
Guinea-Bissau
Bissau
Guyana
Georgetown
Haiti
Port-au-Prince
Honduras
Tegucigalpa
Hungary
Budapest
Iceland
Reykjavik
India
New Delhi
Indonesia
Jakarta
Iran
Teheran
Iraq
Baghdad
Ireland
Dublin
Israel
Jerusalem
Italy
Rome
Jamaica
Kingston
Japan
Tokyo
Jordan
Amman
Kazakhstan
Astana
Kenya
Nairobi
Kiribati
Tarawa
Korea, North
Pyongyang
Korea, South
Seoul
Kuwait
Kuwait
Kyrgyzstan
Bishkek (formerly Frunze)
Laos
Vientiane
Latvia
Riga
Lebanon
Beirut
Lesotho
Maseru
Liberia
Monrovia
Libya
Tripoli
Liechtenstein
Vaduz
Lithuania
Vilnius
Luxembourg
Luxembourg
Macedonia
Skopje
Madagascar
Antananarivo
Malawi
Lilongwe
Malaysia
Kuala Lumpur
Maldives
Male
Mali
Bamako
Malta
Valletta
Marshall Islands
Majuro
Mauritania
Nouakchott
Mauritius
Port Louis
Mexico
Mexico City
Micronesia
Palikir
Moldova
Chisinau
Monaco
Monaco
Mongolia
Ulaan Baatar
Montenegro
Podgorica (administrative capital)
Morocco
Rabat
Mozambique
Maputo
Myanmar
Rangoon (Yangon)
Namibia
Windhoek, 221,000. Summer capital: Swakopmund
Nauru
Yaren
Nepal
Kathmandu
Netherlands
Amsterdam (official)
New Zealand
Wellington
Nicaragua
Managua
Niger
Niamey
Nigeria
Abuja
Norway
Oslo
Oman
Muscat
Pakistan
Islamabad
Palau
Koror
Palestinian State (proposed)
Undetermined
Panama
Panama City
Papua New Guinea
Port Moresby
Paraguay
Asunci?n
Peru
Lima
Philippines
Manila
Poland
Warsaw
Portugal
Lisbon
Qatar
Doha
Romania
Bucharest
Russia
Moscow
Rwanda
Kigali
St. Kitts and Nevis
Basseterre (on St. Kitts)
St. Lucia
Castries
St. Vincent and the Grenadines
Kingstown
Samoa
Apia
San Marino
San Marino
S?o Tom? and Pr?ncipe
S?o Tom
Saudi Arabia
Riyadh
Senegal
Dakar
Serbia
Belgrade
Seychelles
Victoria
Sierra Leone
Freetown
Singapore
Singapore
Slovakia
Bratislava
Slovenia
Ljubljana
Solomon Islands
Honiara (on Guadalcanal)
Somalia
Mogadishu
Spain
Madrid
Sri Lanka
Colombo
Sudan
Khartoum
Suriname
Paramaribo
Swaziland
Mbabane
Sweden
Stockholm
Switzerland
Bern
Syria
Damascus
Taiwan
Taipei
Tajikistan
Dushanbe
Tanzania
Dodoma
Thailand
Bangkok
Togo
Lom
Tonga
Nuku'alofa
Trinidad and Tobago
Port-of-Spain
Tunisia
Tunis
Turkey
Ankara
Turkmenistan
Ashgabat
Tuvalu
Funafuti
Uganda
Kampala
Ukraine
Kyiv (Kiev)
United Arab Emirates
Abu Dhabi
United Kingdom
London
United States
Washington DC
Uruguay
Montevideo
Uzbekistan
Tashkent
Vanuatu
Port Vila
Venezuela
Caracas
Vietnam
Hanoi
Western Sahara (proposed state)
El Aaiun
Yemen
Sana
Zambia
Lusaka
Zimbabwe
Harare
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:20 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: เมืองหลวงแต่ละประเทศ
วันวิทยาศาสตร์

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติ
2 กิจกรรม
3 คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
4 อ้างอิง
//
[แก้] ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพร่วมกับเจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกต่างประเทศ ณ ค่ายหลวงหว้ากอ
รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์
ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:17 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: วันวิทยาศาสตร์
วันคริสมาสต์

คริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas, Christ's mass, Xmas Nativity, Yuletide, Noel หรือ Winter Pascha) เป็นเทศกาลประจำปี ซึ่งในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู[1][2] ในหลายประเทศ คริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี (ในอาร์เมเนีย ตรงกับวันที่ 6 มกราคม และในนิกายออร์โธด็อกซ์บางส่วน ตรงกับวันที่ 7 มกราคม[3]) แต่ก็ไม่เป็นที่เชื่อกันว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระเยซูจริง สำหรับสาเหตุที่เลือกวันดังกล่าวแต่เดิมมีอยู่หลายประเด็น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า วันนี้เป็นเวลาเก้าเดือนพอดีหลังจากนางมารีย์รับการประสูติของพระเยซู[4] ตรงกับเทศกาลบูชาสุริยเทพของโรมันโบราณ[5] หรือไม่ก็ตรงกับเหมายันในซีกโลกเหนือ[6] คริสต์มาสเป็นศูนย์กลางของคริสต์มาสและเทศกาลวันหยุด ในศาสนาคริสต์ คริสต์มาสเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นวันหยุดยาว 12 วัน[7]
ถึงแม้ว่าแต่เดิมคริสต์มาสจะเป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองโดยคริสเตียน แต่ผู้ที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากก็ได้จัดงานเฉลิมฉลองคริสต์มาสอย่างกว้างขวาง[8][9][10] และประเพณีที่ได้รับความนิยมของคริสต์มาสในปัจจุบันมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนศาสนาคริสต์หรือมาจากทางโลก ซึ่งรวมไปถึง การให้ของขวัญ เพลงคริสต์มาส การแลกเปลี่ยนการ์ดคริสต์มาส การตกแต่งโบสถ์คริสต์ การรับประทานอาหารมื้อพิเศษ และการตกแต่งอาคารต่าง ๆ ด้วยต้นคริสต์มาส มิสเซิลโท หรือฮอลลี่ เป็นต้น และยังมีตำนานอันเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเกี่ยวกับซานตาคลอส (หรือ ฟาเธอร์คริสต์มาส) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญแก่เด็ก ๆ ระหว่างเทศกาลคริสต์มาส[11]
เนื่องจากการให้ของขวัญและผลกระทบจากเทศกาลคริสต์มาสในอีกหลายแง่มุมได้ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก ทั้งในกลุ่มคริสเตียนและผู้ที่ไม่ใช่คริสเตียน วันดังกล่าวจึงกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญและช่วงเวลาสำหัรบสินค้าลดราคาสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของคริสต์มาสเป็นปัจจัยที่ได้เติบโตขึ้นอย่างคงที่ตลอดช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายภูมิภาคของโลก
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:13 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: วันคริสมาสต์
ผลไม้นานาชนิด

คำนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่า สิ่งที่เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช โดยลักษณะรวมๆ จะมีรูปทรงคล้ายทรงกลมหรือทรงรี ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันบ้างตามสายพันธุ์ โดยปกติผลไม้จะต้องมีเปลือกหรือมีสิ่งที่ห่อหุ้มเนื้อที่อยู่ข้างใน ซึ่งมักจะถูกนำไปรับประทานโดยมนุษย์หรือสัตว์
ในส่วนของการเจริญเติบโต สามารถขยายพันธุ์ได้โดยดอก เมล็ด หรือ อื่นๆ ซึ่งผลไม้ที่ออกมานี้ตอนแรกจะมีขนาดเล็กและมักจะไม่ค่อยถูกนำมารับประทานโดยมนุษย์ แต่เมื่อเติบโตจนสุกงอม จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม คือ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม และรสหวาน เป็นต้น จนสามารถนำมารับประทานหรือประกอบอาหาร ส่วนมากมักจะเป็นอาหารหวาน
ถ้าผลไม้สุกงอมเต็มที่จะมีลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้น้อยลง เช่น เน่าเสีย บูด ขึ้นรา เป็นต้น และจะหลุดร่วงจากต้นลงสู่พื้นดินหรือพื้นน้ำ กลายเป็นอาหารให้แก่ห่วงโซ่อาหารลำดับถัดไป เช่น แบคทีเรีย จุรินทรีย์ จนกลายเป็นอินทรียธาตุหรืออนินทรียธาตุ หมุนเวียนเป็นวัฏจักรต่อไป
การที่จะบอกได้ว่าเป็นผลไม้อะไรนั้น จำเป็นต้องมีสิ่งบ่งชี้อื่นๆ ประกอบหลายอย่าง เช่น เปลือกมีลักษณะเป็นหนามและแข็ง เนื้อข้างในสีเหลือง หมายถึง ทุเรียน เป็นต้น
[แก้] ผลไม้ในความหมายพฤกษศาสตร์กับผลไม้ในความหมายทั่วไป
ผลไม้ในความหมายทั่วไป หมายถึง ผลไม้ที่สามารถรับประทาน โดยไม่ต้องนำไปปรุงในครัวก่อนแต่มีรสชาติที่ดี ซึ่งอาจจะต้องปอกเปลือกก่อนรับประทาน ดังนั้นอาหารหลายชนิดจึงเป็นผลไม้ในเชิงพฤกศาสตร์แต่กลับถูกจัดว่าเป็นผักในเชิงการทำครัว. อันได้แก่ผลของพืชจำพวกฟัก (เช่น ฟักทอง แฟง และ แตงกวา), มะเขือเทศ, ถั่วลันเตา, ถั่วฝักยาว, ข้าวโพด, พริกหยวก, เครื่องเทศ
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:13 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: ผลไม้นานาชนิด
กีฬาไทย

กีฬาไทยจัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ มีความงดงามและทรงคุณค่า ซึ่งบรรพบุรุษได้ค้นคิด สืบสาน ถ่ายทอดและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ การเล่นกีฬานอกนจากจะช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว กีฬาหลายประเภทยังช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหวพริบปฎิภาน รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถหลบหลีกคู่ต่อสู้ได้ กีฬาบางชนิดใช้ผู้เล่นเป็นหมู่คณะ ทำให้ผู้เล่นรู้จักมีความรักความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตลอดจนเป็นคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่ แม้ว่าจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคสมัยก็ตาม แต่ด้วยความสำนึกของความเป็นไทย เราควรร่วมกันสนับสนุนและร่วมส่งเสริม ภูมิปัญญากีฬาไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:10 0 ความคิดเห็น
วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ผังงานคอมพิวเตอร์



(After studying this chapter, you will be able to)
1. อธิบายความหมายผังงานระบบ
2. จัดประเภทผังงานคอมพิวเตอร์
3. ยกตัวอย่างขั้นตอนการใช้ผังงานระบบและผังงานโปรแกรม
4. บอกประโยชน์และข้อจำกัดของผังงานระบบ
5. อธิบายความหมายสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบ
6. เข้าใจหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์งาน
7. สรุปหลักทั่วไปในการเขียนผังงาน
8. จัดบอร์ดเชิงปฏิบัติการ”หลักการเขียนผังงานระบบ”
9. สนทนาเชิงปฏิบัติการ”สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบ”
10. สนทนา”การเขียนผังงานระบบที่ดีควรมีหลักเกณฑ์อย่างไร”
11. อธิบายคำศัพท์ได้ 10 คำ
บทที่ 6
หลักการเขียนผังงานระบบ
ผังงานระบบ คือ รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนลำดับ หรือขั้นตอนในโปรแกรมรูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นเอกลักษณ์ และแทนความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยทั่วไปผังงานคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. ผังงานระบบ(System Flowchat)
เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานภายในระบบหนึ่ง ๆ โดยจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องของส่วนที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบนั้น เช่น เอกสารเบื้องต้น หรือสื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้อยู่เป็นอะไร และผ่านไปยังหน่วยงานใด มีกิจกรรมอะไรในหน่วยงานนั้น แล้วจะส่งต่อไปหน่วยงานใด เป็นต้น ดังนั้นผังงานระบบอาจเกี่ยวข้องกับคน วัสดุ และเครื่องจักร ซึ่งแต่ละจุดจะประกอบไปด้วย การนำข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผลและการแสดงผลลัพธ์ (Input – Process - Output) ว่ามาจากที่ใดอย่างกว้าง ๆ จึงสามารถเขียนโปรแกรมจากผังงานระบบได้
2. ผังงานโปรแกรม(Program Flowchat) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ผังงาน
ผังงานประเภทนี้แสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม ผังงานนี้อาจสร้างจากผังงานระบบโดยผู้เขียนผังงานจะดึงเอาแต่ละจุดที่เกี่ยวข้องการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในผังงานระบบมาเขียน เพื่อให้ทราบว่าถ้าจะใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในจุดนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตามต้องการ ควรที่จะมีขั้นตอนคำสั่งอย่างไร และจะได้นำมาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานต่อไป
การใช้งานผังงานระบบ
เพื่อให้ทราบถึงความเกี่ยวพันของระบบตังแต่เริ่มต้น ว่ามีการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างไร ใช้วิธีการอะไรบ้าง เหมาะสำหรับผู้บริหาร ผู้วิเคราะห์ระบบ และผู้เขียนโปรแกรม จะไดทราบถึง ความสัมพันธ์ ของแผนกต่าง ๆ
ตัวอย่าง ผังงานระบบและผังงานโปรแกรมของการคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม 100 รูป

ประโยชน์และข้อจำกัดของผังงานระบบ
ผังงานระบบเป็นเอกสารประกอบโปรแกรม ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาลำดับขั้นตอนของโปรแกรมง่ายขั้น จึงนิยมเขียนผังงานระบบประกอบการเขียนโปรแกรม ด้วยเหตุผลดังนี้
1 คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้และเข้าใจผังงานระบบได้ง่าย เพราะผังงานระบบไม่ขั้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ
2 ผังงานระบบเป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาถึงลำดับข้นตอนในการทำงาน ซึ่งน่าจะดีกว่าบรรยายเป็นตัวอักษร การใช้ข้อความหรือคำพูดอาจจะสื่อความหมายผิดไปได้
3 ในงานโปรแกรมที่ไม่สลับซับซ้อน สามารถใช้ผังงานระบบตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่าย ถ้ามีที่ผิดในโปรแกรมจะแก้ไขได้สะดวกและรวดเร็วขั้น
4 การเขียนโปรแกรมโดยพิจารณาจากผังงานระบบ สามารถทำให้รวดเร็วและง่ายขั้น
5 การบำรุงรักษาโปรแกรมหรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพถ้าดูจากผังงานระบบจะช่วยให้สามารถทบทวนงานในโปรแกรมก่อนปรับปรุงได้ง่ายขั้น
ข้อจำกัดของผังงานระบบ
ผู้เขียนโปรแกรมบางคนไม่นิยมการเขียนผังงานระบบก่อนที่จะเขียนโปรแกรมเพราะ
เสียเวลาในการเขียนเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ ได้แก่
1 ผังงานระบบเป็นการสื่อความหมาระหว่างบุคคลต่อบุคคลมากกว่าที่จะสื่อความหมายระหว่างบุคคลกับเครื่อง เพราะผังงานระบบไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ทำให้เครื่องไม่สามารถรับและเข้าใจว่าในผังงานระบบนั้นต้องการให้ทำอะไร
2 บางครั้งเมื่อพิจารณาจากผังงานระบบ จะไม่สามารถทราบได้ว่า ขั้นตอนการทำงานใดสำคัญกว่ากัน เพราะทุก ๆ ขั้นนอนจะใช้รูปาภพหรือสัญลักษณ์ในลักษณะเดียวกัน
3การเขียนผังงานระบบเป็นการสิ้นเปลือง เพราะจะต้องใช้กระดาษและอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบการเขียนภาพ บางครั้งการเขียนผังงานระบบอาจจะต้องใช้กระดาษมากกว่า 1 แผ่นทั้ง ๆ ที่การอธิบายงานเดียวกันจะใช้เนื้อที่เพียง 3-4 บรรทัดเท่านั้น
4 ผังงานระบบจะมีขนาดใหญ่ ถ้าโปรแกรมที่พัฒนาเป็นงานใหญ่ ทำให้ผังงานระบบแลดูเทอะทะไม่คล่องตัว และถ้ามีการปรับเปลี่ยนผังงานระบบจะทำได้ยาก บางครั้งอาจจะต้องเขียนผังงานขั้นใหม่
5 ในผังงานระบบจะบอกขั้นตอนการปฏิบัติงานว่าเป็นลำดับอย่างไร ปฏิบัติงานอะไรแต่จะไม่ระบุให้ทราบว่าทำไมจึงต้องเป็นลำดับและต้องปฏิบัติงานอย่างนั้น
6 ในภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ภาษาซี ผังงานระบบไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งในภาษาได้ชัดเจน ตรงไปตรงมา
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบ
การเขียนผังงานระบบต้องใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ นำมาเรียงกัน เพื่อแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน โดยมีลูกศรเชื่อมระหว่างภาพต่าง ๆ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบที่นิยมใช้กันนั้นเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) และองค์การมาตรฐานนานาชาติ
(International Standard Organization : ISO)หน่วยงานดังกล่าว ทำหน้าที่รวบรวมและกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานที่จะใช้เขียนผังงานระบบ ดังนี้
ตารางที่ 6.1 แสดงสัญลักษณ์และความหมายของผังงานระบบ

หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์งาน
การวิเคราะห์งานหรือการวิเคราะห์ปัญหา นับวาเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ต่าง ๆ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน การวิเคราะห์งานเป็นการศึกษาถึงลักษณะและรายละเอียดของปัญหาเกี่ยวกับงานที่ต้องการเขียนโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์นำมาศึกษา วิเคราะห์และดีความเพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายนั้นได้ดียิ่งขั้นเช่น ต้องการให้เครื่องทำงานอะไร ลักษณะผลลัพธ์ที่ต้องการแสดง วิธีการประมวลผลที่ต้องใช้ และข้อมูลที่จะต้องป้อนเข้าไป
กล่าวโดยสรุป การวิเคราะห์งานจะเป็นการศึกษาผลลัพธ์(Output) ข้อมูลที่นำเข้า (Input) และวิธีการประมวลผล(Process) รวมทั้งการกำหนดชื่อตัวแปร (Variable) ที่จะใช้ในโปรแกรมนั่นเองวิธีการวิเคราะห์งานให้ได้ผลดีนั้นมีหลายแบบ แต่หลักเกณฑ์ใหญ่ ๆ ที่นิยมใช้กันอย่างทั่วไปสามารพแยกเป็นข้อ ๆ ด้ามลำดับดังต่อไปนี้
1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ หมายถึง สิ่งที่ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้ เช่น ต้องการให้คำนวณคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษา ต้องการให้คำนวณเงินเดือนและค่าแรง เป็นต้นงานแต่ละชิ้นอายต้องกานใช้เครื่องทำงานให้มากว่าหนึ่งอย่าง ซึ่งควรจะเขียนไว้เป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน การพิจารณาถึงสิ่งที่โจทย์ต้องการเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ทราบก็ไม่สามารถจะทำขั้นตอนต่อไปได้เลย หรือถ้าเข้าใจส่วนนี้ผิดก็จะทำให้งานขั้นตอนต่อไปผิดหมด
2 ผลลัพธ์ที่ต้องแสดง (Output) หมายถึง การวิเคราะห์ลักษณะของงาน หรือรูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์แสดงออกมาว่าควรจะมีลักษณะอย่างไร มีรายละเอียดที่ต้องการให้แสดงในรายงานมากน้อยเพียงใด หรือรายละเอียดชนิดใดที่ไม่ต้องการให้แสดงออกมาในรายงาน ในกรณีนี้เป็นหน้าที่ของผู้เขียนโปรแกรมเองว่าจะต้องการรูปแบบรายงานออกมาโดยมีรายละเอียดที่จำเป็นและสวยงามเพียงใด เนื่องจากรายงานหรือผลลัพธ์นี้มีความสำคัญต่อผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารจะใช้รายงานหรือผลลัพธ์ไปช่วยในการตัดสินใจวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
3 ข้อมูลที่ต้องนำเข้า (Input) หมายถึง ข้อมูลที่ต้องป้อนเข้ามาเพื่อใช้ในการประมวลผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ลักษณะของผลลัพธ์ คือ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของ Output ที่แน่นอนแล้ว ข้อมูลที่ต้องนำเข้าไปก็ควรจะพิจารณาให้เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่ต้องการแสดงด้วย ทั้งนี้อาจจะต้องพิจารณาถึงขั้นตอนในการประมวลผลควบคู่ไปด้วย
4 ตัวแปรที่ใช้ (Variable) หมายถึง การกำหนดชื่อแทนความหมายของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการอ้างถึงข้อมูลนั้น และการเขียนโปรแกรมด้วยการตั้งชื่อตัวแปรที่ใช้ควรคำนึงถึงความหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล การตั้งขื่อตัวแปรนี้จะขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพราะภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละภาษามีกฎเกณฑ์และความสามารถในการตั้งตัวแปรแตกต่างกันไป แต่โดยทั่ว ๆ ไป การตั้งชื่อตัวแปรจะพิจารณาความหมายของข้อมูลว่าตรงกับคำใดในภาษาอังกฤษ แล้วนำมาตัดแปลงหรือย่อให้เข้ากับหลักเกณฑ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้
5 วิธีการประมวลผล (Processing) หมายถึงวิธีการประมวลผลโดยแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องทำตามาลำดับ เริ่มจาการรับข้อมูลนำไปประมวลผลจนได้ผลลัพธ์ ขั้นตอนนี้จะต้องแสดงการทำงานที่ต่อเนื่องตามลำดับ จึงต้องจัดลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง ในขั้นตอนของวิธีการนี้ถ้ายิ่งกระทำให้ละเอียดก็จะช่วยในการเขียนโปรแกรมยิ่งง่ายขึ้น
หลักทั่วไปในการเขียนผังงานระบบ
การเขียนผังงานระบบอาจจะเขียนลงในกระดาษที่มีแบบฟอร์มมาตรฐานที่เรียกว่า Flowchart Worksheet ซึ่งจะช่วยให้เขียนผังงานระบบได้สะดวกขึ้น ประหยัดเนื้อที่ ง่ายต่อการติดตามจุดต่อและดูเรียบร้อย หรือจะใช้กระดาษธรรมดาเขียนก็ได้ การเขียนรูปหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในผังงานระบบ จะใช้ Flowchart Template ซึ่งเป็นแผ่นพลาสติกที่มีช่องเจาะเป็นรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของผังงานระบบเข้าช่วยก็ได้ ปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนผังงานระบบที่มีความสวยงามและเป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
ในการเขียนผังงานระบบที่ดี ควรมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1 มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานเพียงจุดเดียวในหนึ่งผังงานระบบ
2 มีทางออกจากสัญลักษณ์ใด ๆ เพียงทางเดียว ยกเว้นสัญลักษณ์แสดงการตัดสินใจ สามารถมีทางออกมาตั้งแต่ 2 ทางได้
3 มีการเข้าสู่สัญลักษณ์ใด ๆ เพียงทางเดียว ถ้าต้องการกระทำกระบวนการเดียวกันควรใช้สัญลักษณ์ตัวเชื่อม
4 ทิศทางลำดับของขั้นตอน ควรจะเริ่มจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา
5 ข้อความที่บรรจุในสัญลักษณ์ควรสั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย
6 ขนาดของสัญลักษณ์ที่ใช้ควรมีขนาดที่เหมาะสม สวยงาม
7 เส้นทางที่ใช้ในผังงานควรเป็นระเบียบเรียบร้อย ชัดเจน ไม่พันกันไปมาจนไม่สามารถทราบจุดตั้งต้นและจุดสิ้นสุดที่แน่นอนได้
แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ
บทที่ 6 หลักการเขียนผังงานระบบ
ตอนที่ 1
1. จงอธิบายความหมายของผังงานระบบ
ตอบ เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานภายในระบบงานหนึ่ง ๆ โดยจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องของส่วนที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบนั้น
2. จงอธิบายประโยชน์และข้อจำกัดของผังงานระบบ
ตอบ 1. คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้และเข้าใจผังงานระบบได้ง่าย
2. เป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาถึงลำดับขั้นตอนการทำงาน
3. ในโปรแกรมที่ไม่สลับซับซ้อน สามารถใช้ผังงานระบบตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่าย
4. การเขียนโปรแกรมโดยพิจารณาจากผังงานระบบ ทำให้รวดเร็วและง่ายขึ้น
5. การบำรุงรักษาโปรแกรมหรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมให้มีประสิทธิผล
3. ผลลัพธ์ที่ต้องแสดง หมายถึง อะไร
ตอบ การวิเคราะห์ลักษณะของงาน หรือรูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการให้คอมฯแสดงออกมาว่าควรจะมีลักษณะอย่างไร มีรายละเอียดที่ต้องการให้แสดงในรายงานมากน้อยเพียงใด
4. ข้อมูลนำเข้า หมายถึง อะไร
ตอบ ข้อมูลที่ต้องป้อนเข้ามาเพื่อใช้ในการประมวลผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ลักษณะของผลลัพธ์
5. ตัวแปรที่ใช้ หมายถึงอะไร
ตอบ การกำหนดชื่อแทนความหมายของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงข้อมูลนั้น การตั้งชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของภาษาคอมฯใช้ในการเขียนโปรแกรม

การลดขยะ

สัตว์นานาชาติ

สัตว์จัดเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อมนุษย์ การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สัตว์จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ได้ผลผลิตโปรตีนเพียงพอต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก นอกจากนั้นสัตว์พื้นบ้านประเภทต่าง ๆ ในหลาย ๆ ประเทศ เริ่มได้รับการสนใจในการอนุรักษ์และพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ของประชากรในท้องถิ่น การสร้างสายพันธุ์สัตว์ใหม่ ๆ ที่ใช้สัตว์พื้นบ้านเหล่านี้เป็นแหล่งพันธุกรรม จะยังคงมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจุบันงานวิชาการทางด้านพันธุศาสตร์ปริมาณ พันธุศาสตร์โมเลกุล ฯลฯ ได้มีการพัฒนาไปเร็วมาก การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาผสมผสานใช้กันการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสหากรรมการเลี้ยงสัตว์ของโลก ดังนั้นเพื่อให้สามารถสร้างสายพันธุ์สัตว์รองรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของโลก จึงจำเป็นต้องเปิดหลักสูตร การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อผลิตบุคลากรระดับมหาบัณฑิต ในสาขาวิชาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (หลักสูตรนานาชาติ) สำหรับรองรับกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ 2. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรที่จบการศึกษาทางวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวบาล / สัตวศาสตร์ หรือสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและนักศึกษาจากประเทศใกล้เคียง สามารถเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมความรู้ในด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ได้โดยเร็ว 3. เพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้างสายพันธุ์สัตว์ขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ และเป็นการยกระดับบุคลากรในแวดวงการเลี้ยงสัตว์ให้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านวิชาการการปรับปรุงพันธุ์เพิ่มขึ้น 4. สร้างเครือข่ายระหว่างภาคอุตสาหกรรมกลุ่มผู้ผลิตและภาคการศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบันการวิจัย ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงการสร้างงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
5. กำหนดการเปิดสอน
ปีการศึกษา 2547
6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวบาล/สัตวศาสตร์ สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
มีคะแนน TOEFL ไม่ต่ำกว่า 525 คะแนน หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
คุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
7. วิธีการคัดเลือกเข้าศึกษา
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระเบียบการรับบุคคลเข้าศึกษาของหลักสูตร โดยคัดเลือกด้วยวิธีการสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้พิจารณาความรู้พื้นฐานสาขาสัตวบาล/สัตวศาสตร์ ความสามารถให้เวลากับการศึกษาอย่างเต็มที่ รวมทั้งพิจารณาจากคุณสมบัติด้านอื่น ๆ จากใบสมัคร และหลักฐานประกอบการสมัคร
8. ระบบการศึกษา
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9. ระยะเวลาศึกษา
ต้องเรียนตามหลักสูตรปริญญาโท ภายใน 4 ปีการศึกษา นับตั้งแต่วันที่เข้ารับการศึกษา ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10. การลงทะเบียน
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การวัดผลมีการสอบวัดคุณสมบัติและประมวลความรู้ในรูปแบบข้อเขียน หรือปากเปล่าหรือสองอย่าง และสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย ผลการสอบต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสอบทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12. อาจารย์ผู้สอน
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:51 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: สัตว์นานาชาติ
กีฬาสากล

กีฬาเป็นกิจกรรมที่มีการแข่งขันเพื่อผลแพ้ชนะ โดยผู้แข่งขันจะเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นทีมขึ้นอยู่กับประเภทของกีฬา ซึ่งกีฬาที่เล่นในประเทศไทยมีทั้งกีฬาไทยและกีฬาสากล
กีฬาสากลเป็นกีฬาที่เป็นที่ยอมรับขององค์กรกีฬาทั่วโลกให้เป็นกีฬาที่บรรจุอยู่ในเกมการแข่งขัน ซึ่งในชั้นเรียนนี้จะนำเสนอกีฬาที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน กรีฑา วอลเลย์บอล
ก่อนการฝึกเล่นกีฬาทุกครั้ง นักเรยนควรปฎิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
๑) ตรวจอุปกรณ์การฝึกให้อยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัย
๒) อบอุ่นร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย
๓) สังเกตการสาธิตการฝึกปฎิบัติของครูผู้สอน
๔) ฝึกปฎิบัติด้วยความระมัดระวัง
๕) ประเมินผลการฝึกปฎิบัติ เพื่อหาข้อบกพร่อง และเตรียมปรับปรุงแก้ไข
๖) ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง และฝึกซ้ำ ๆ
๗) เมื่อฝึกกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้เก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย
ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน
ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน เป็นกิจกรรมพื้นฐานของกีฬายิมนาสติก และกีฬาเกือบทุกชนิดที่จะต้องใช้ความแข็งแรง ความอ่อนตัว การทรงตัว จังหวะและความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกมีร่างกายแข็งแรงเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจและสง่างาม มีการตัดสินใจที่ดี
กิจกรรมยืดหยุ่นขั้นพื้นฐานมีอยู่หลายกิจกรรม เช่น ทรงตัว กลิ้งตัว เหวี่ยงตัว ซึ่งในชั้นเรียนนี้จะฝึกกิจกรรม ดังนี้
๑ การทรงตัว
๑) หกกบ
หกกบคือ การเลี้ยงตัวให้ตั้งอยู่ได้บนแขน ผู้ที่ทำหกกบได้ดีต้องมีร่างกายที่แข็งแรง เพราะจะบังคับกล้ามเนื้อให้นิ่งอยู่กับที่ได้ ซึ่งปฎิบัติได้ ดังนี้
(๑) นั่งยอง ๆ ด้วยปลายเท้า เข่าแยกวางฝ่ามือลงบนพื้นข้างหน้า ระยะห่างระหว่างมือและเท้าเท่ากับความกว้างประมาณ ๑ ช่วงไหล่แขนทั้งสองอยู่ระหว่างทั้งสองข้าง
(๒) งอสอกทั้งสองข้าง โดยให้ข้อศอกอยู่ตรงรอยพับของเข่า แล้วพยายามให้ขาพับด้านในวางบนแขนเหนือข้อศอกเล็กน้อย
(๓) ยกเท้าขึ้นจากพื้น น้ำหนักตัวอยู่บนมือทั้งสอง เงยหน้าขึ้นเพื่อช่วยในการเลี้ยงตัว แล้วเลี้ยงตัวไว้ให้นานที่สุด
๒) หกสามเส้า
หกสามเส้าหรือหกหัวตั้ง คือ การตั้งศีรษะกับพื้น โดยเท้าทั้งสองข้างชี้ขึ้นข้างบน เป็นการฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานแบบเกร็งอยู่กับที่ ซึ่งปฎิบัติได้ ดังนี้
(๑) จับคู่กับเพื่อน เพื่อให้เพื่อนคอยช่วยเหลือ
(๒) นั่งคุกเข่า วางฝ่ามือลงบนพื้นข้างหน้า
(๓) ก้มศีรษะวางลงบนพื้น ให้กลางศีรษะติดพื้นให้ศีรษะและมือวางลงบนพื้นโดยให้เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสามเส้า
(๔) ค่อยๆ ยกตัวขึ้น โดยเหวี่ยงขาข้างหนึ่งขึ้น แล้วจึงยกขาข้างที่เหลือตามโดยมีเพื่อนคอยช่วยเหลือ พยายามใช้ศีรษะและมือเลี้ยงลำตัวตรงไปในอากาศ
๓)การทรงตัวด้วยมือและแขน
เป็นการใช้มือและแขนช่วยรับน้ำหนักตัวและประคองตัวไม่ให้ล้มลง
(๑) การฝึกทรงตัวบนเก้าอี้ สามารถปฎิบัติตามขั้นตอน ดังนั้น
๑. นั่งบนเก้าอี้ ลำตัวตั้งตรง แขนวางแนบลำตัว ฝ่ามือวางบนเก้าอี้
๒. ยกลำตัวและเท้าให้พ้นพื้น ใช้มือและแขนเลี้ยงลำตัวให้ลอยอยู่ได้
(๒) การฝึกทรงตัวบนพื้นสามารถปฎิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
๑. นั่งราบกับพื้น เท้าเหยียดตรงชิดกัน ฝ่ามือวางราบกับพื้น โดยเยื้องไปข้างหลังเล็กน้อย ลำตัวเอนไปข้างหลังเล็กน้อย
๒. ยกลำตัวและขาทั้งสองข้างขึ้นให้พ้นพื้น โดยใช้มือและแขนเลี้ยงลำตัวให้ลอยอยู่ได้
๒ การต่อตัว
การต่อตัวเป็นการฝึกที่จะช่วยทำให้ผู้มีความอดทน ความแข็งแรงมีความเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งยังช่วยเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีและความเห็นอกเห็นใจให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ การต่อตัว เป็นกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นผู้ฝึกจึงควรมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
๓ ความคล่องตัว
ความคล่องตัวคือ การเคลื่อนที่ของร่างกายที่รวดเร็ว คล่องแคล่ว
๑) การวิ่งเปลี่ยนทิศทาง
เป็นการวิ่งหลบหลีกและเปลี่ยนทิศทางได้คล่องแคล่วซึ่งปฎิบัติได้ ดังนี้
(๑) วิ่งสลับทิศทาง เป็นการวิ่งตรงไปและเลี้ยวซ้ายหรือขวาสลับกันไป
(๒) วิ่งไปและวิ่งกลับ เป็นการวิ่งตรงไปอ้อมหลักและวิ่งหลับมาที่จุดเดิม
(๓) วิ่งอ้อมหลักสลับไปมา เป็นการวิ่งซิกแซ็กอ้อมหลัก
(๔) วิ่งอ้อมหลักหรือจุด ๓ จุด เป็นการวิ่งอ้อมหลักเป็นรูปสามเหลี่ยม
๒) การข้ามสิ่งกีดขวาง
เป็นการทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ซึ่งมีวิธีปฎิบัติ ดังนี้
(๑) กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง
(๒) ม้วนตัวข้ามสิ่งกีดขวาง
๔ ความอ่อนตัว
ความอ่อนตัวคือ ความสามารถของร่างกายในการงอตัวและการยืดตัวการฝึกอ่อนตัวจะช่วยป้องกันอันตรายต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งมีวิธีปฎิบัติดังนี้
(๑) นั่งบิดตัวซ้ายขวา
(๒) นอนใช้ปลายเท้าแตะพื้นเหนือศีรษะ
(๓) ยืนแอ่นตัวไปด้านหลัง
(๔) นั่งแตะปลายเท้า
(๕) ก้มบิดลำตัว
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:45 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: กีฬาสากล
วันห้องสมุด


เรื่องราวของหอสมุดแห่งชาติ และกิ่งก้านอีก 17 สาขา...
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2009, 10:36:28 AM »
หอสมุดแห่งชาติ
ความเป็นมาของหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติปัจจุบันของไทย สถาปนาขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระมหากษัตราธิราชในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยการรวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณ และหอพุทธสาสนสังคหะเข้าด้วยกัน ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชโองการประกาศจัดการ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้เป็น หอสมุดสำหรับพระนคร เมื่อ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ และได้วิวัฒนาการเป็นสำนักหอสมุดแห่งชาติปัจจุบัน หอพระสมุดวชิรญาณ เดิมตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่ข้างนอกประตูพิมานไชยศรี คือศาลาสหทัยสมาคม แต่การบริหารและการให้บริการของหอพระสมุดเป็นสมาคม และเป็นสโมสรสำหรับสมาชิกเท่านั้น ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปได้เสด็จทอดพระเนตรกิจการหอสมุดแห่งชาติอังกฤษและหอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร มีพระราชดำริว่า หอพระสมุดวชิรญาณที่ทรงร่วมกันจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นหอพระสมุดสำหรับราชสกุล แม้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในทางวิชาการความรู้ยังไม่กว้างขวาง เพราะส่วนมากเป็นสมาชิกและอยู่ในวงแคบ หากขยายกิจการหอพระสมุดออกไปให้เป็น หอสมุดสำหรับพระนคร เพื่อพสกนิกรจะได้แสวงหา ประโยชน์ต่างๆจะได้จากการอ่านหนังสือ คงจะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นสมตามพระราชประสงค์ที่จะทรงเฉลิมพระเกียรติยศสนองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ เป็นหอสมุดสำหรับพระนครขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๔๘ และพระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ตามพระสมณนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ขณะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครได้พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร มาไว้ที่ ตึกใหญ่ริมถนนหน้าพระธาตุซึ่งเรียกว่าตึกถาวรวัตถุ และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๕๙ กิจการของหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับได้มีการรวบรวมหนังสืออันมีค่ายิ่งของประเทศไว้ได้เป็นจำนวนมากและยังได้วางรากฐานการจัดห้องสมุดตามมาตรฐานสากลหลายประการ เช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการค้นหนังสือ ทำบรรณานุกรม และการจัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณค่าต่างๆ จำนวนมาก เป็นต้น ใน ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯให้แยกหอพระสมุด วชิรญาณสำหรับพระนครออกเป็น ๒ หอ คือ หอพระสมุดวชิราวุธ ตั้งอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุเช่นเดิมให้เป็นที่เก็บหนังสือฉบับพิมพ์และ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวเขียนและตู้พระธรรม ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ รัฐบาลจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นและมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกำหนดให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร มีฐานะเป็นกองหนึ่งในกรมศิลปากรเรียกว่า กองหอสมุดและได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็นหอสมุดแห่งชาติในเวลาต่อมา หอสมุดแห่งชาติได้พัฒนากิจการเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับมี ผู้ใช้บริการจำนวนมากจนถึง พุทธศักราช ๒๕๐๕ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติเป็นอาคารทรงไทย สูง ๕ ชั้นขึ้น ที่บริเวณท่าวาสุกรี ถนนสามเสน และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นอาคารทรงไทย ๕ ชั้น บนเนื้อที่ประมาณ ๑๗ ไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
หอสมุดแห่งชาติมีสาขาทั้งหมด 17 สาขาด้วยกัน ดังนี้1. หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ 280/8 หมู่ 2 ถนนหลวงพรตพิทยพยัต เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520โทรศัพท์ 02 739-2297-8 โทรสาร 02 739-2297-8 ต่อ 206 เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: 8.30 - 16.30 น. วันจันทร์ - ศุกร์ หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ 2. หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี109 หมู่ 1 ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16110โทรศัพท์ 036 581-520 เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: 9.00-17.00 น. วันอังคาร-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์ 3. หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ถนนแสงชูโต ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000 โทรศัพท์ 034 513-924-6, 516-755 โทรสาร 034 513-924เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ ::9.00-17.00 น. วันอังคาร-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์ 4. หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 โทรศัพท์ 035 535-343 , 535-244 โทรสาร 035 535-343 เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: 9.00-17.00 น. วันอังคาร-พุธ 9.00-20.30 น. วันพฤหัสบดี-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:41 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: วันห้องสมุด
ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:37 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: ระบบสารสนเทศ
เครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ (Recorder)
ฟลุ๊ต (Flute) และ ฟลุ๊ต-ปิดโคโล (Flute-Picolo)
คลาริเนท (Clarinet)
แชกโซโฟน (Saxophone)
บาสซูน (bassoon)
โอโบ (Oboe)
[แก้] เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องทองเหลือง(Brass Instrument)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
ทรัมเป็ท (Trumpet)
คอนเน็ท (Cornet)
เฟรนช์ ฮอร์น (French Horn)
ทรอมโบน (Trombone)
แซ็กฮอร์น (Saxhorn)
ซูซาโฟน (Sousaphone)
ทูบา (Tuba)
ยูโฟเนียม (Euphonium)
พัลลาเดียม(Palladium)
[แก้] เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องกระทบ (Percussion Instrument)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
กลอง (Drum), ทิมพานี(Timpani)
ฉาบ (Cymbol), ฆ้อง (Gong)
เบลลีลา (Bellela), ไซโลโฟน (Xylophone)
มาราคัส แทมโปลิน
คาสทาเนทหรือกรับสเปน (Castanet)
[แก้] เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว (Keyboard Instrument)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
ออแกน (Organ)
เมโลเดี้ยน (Melodian)
เปียโน (Piano)
แอคคอเดียน (Accordion)
ฮาปซิคอร์ด
อิเล็คโทน (Electone
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:35 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: เครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บทความในหมวดหมู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ถ้าต้องการมีส่วนรวม แก้ไข สามารถร่วมได้ที่ หน้าโครงการ
หน้านี้เป็นหน้ารวมบทความในหมวดหมู่ เครื่องดนตรีไทย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ เครื่องดนตรีไทย
หมวดหมู่ย่อย
หมวดหมู่นี้มี 3 หมวดหมู่ย่อย จากทั้งหมด 3 หมวดหมู่

[×] เครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน (0)

[×] ปี่ (0)

[×] เครื่องดนตรีไทยภาคเหนือ (0)
บทความในหมวดหมู่ "เครื่องดนตรีไทย"
มีบทความ 45 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 45 หน้า รายการที่ปรากฎด้านล่างอาจไม่รวมการแก้ไขล่าสุด
เครื่องดนตรีไทย

กระจับปี่
กรับ
กลองชาตรี
กลองตะโพน
กลองทัด
กลองมลายู
กลองยาว
กลองสองหน้า
กลองแขก

ขลุ่ย
ขลุ่ยหลิบ
ขลุ่ยอู้
ขลุ่ยเพียงออ
ขิม

ฆ้อง
ฆ้องมอญ
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงใหญ่

จะเข้

ฉาบ
ฉิ่ง

ซอ
ซอกันตรึม
ซอด้วง
ซอสามสาย
ซออู้

ตะโพน
ตะโพนมอญ

โทน

บัณเฑาะว์

เปิงมาง
ปี่
ปี่ชวา
ปี่นอก
ปี่มอญ
ปี่ใน

ระนาด
ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้มเหล็ก
ระนาดเอก
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดแก้ว
รำมะนา

อังกะลุง
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:33 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: เครื่องดนตรีไทย
บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom) ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก
▼ 2011 (13)
▼ มีนาคม (1)
วันพีซ
► มกราคม (12)
สัตว์นานาชาติ
กีฬาสากล
วันห้องสมุด
ระบบสารสนเทศ
เครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีไทย
ลักษณะภูมิประเทศทวีปเอเชีย
เมืองหลวงแต่ละประเทศ
วันวิทยาศาสตร์
วันคริสมาสต์
ผลไม้นานาชนิด
กีฬาไทย
► 2010 (27)
► กรกฎาคม (5)
ผังงานคอมพิวเตอร์
การสื่อสารคอมพิวเตอร์
Microsoft Word
ระบบสารสนเทศ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
► มิถุนายน (20)
การลดขยะ
test
การออกกำลังกาย
วันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา
ประเพณีลอยกระทง
วันขึ้นปีใหม่
วันสงกรานต์
วันอาสาฬหบูชา
วันมาฆบูชา
วันพืชมงคล
วันพ่อแห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ
การลดโลกร้อน
สุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู...
วันวิสาขบูชา
การไหว้คูร
การเกิดรุ้งเกินนำ
สึนามิิ
การเกิดภูเขาไฟ
► พฤษภาคม (2)
การเกิดแผ่นดินไหว
การเกิดฤดูการ
เกี่ยวกับฉัน
palmwee@gmail.com
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

การเกิดฤดูการ

ฤดูกาลเกิดขึ้นเพราะแกนโลกเอียง ทำให้โลกหมุนรอบตัวเองในลักษณะที่เส้นศูนย์สูตรไม่ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ ทำให้ในแต่ละวันที่โลกโคจรรอบดวงอาทตย์ได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน จึงเกิดฤดูกาลขึ้นมา
ในอนาคตฤดูกาลอาจเปลี่ยนแปลงได้ หากว่าแกนโลกเปลี่ยนองศาไปจากปัจจุบัน แต่ต้องใช้เวลานับล้านปี เพราะโลกมีพลังงานสะสมอยู่ในตัวมาก การเคลื่อนย้ายแกนโลกต้องใช้พลังมหาศาลจากนอกโลกมากระทำ เช่นการพุ่งชนของดาวหางหรือดาวเคราะห์ขนาดใหญ่
หรืออาจเปลี่ยนแนวได้ด้วยตัวโลกเอง เพราะว่าพลังงานที่ทำให้แกนโลกเอียงในครั้งก่อนอาจมีพลังงานหลงเหลืออยู่ แต่การเปลี่ยนแค่หนึ่งองศาก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่าล้านปี
การเปลี่ยนโดยฉับพลันทันที โดยไม่มีแรงจากภายนอกมากระทำไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะโลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงบวกกับน้ำหนักที่มากมายของโลก ย่อมมีแรงเฉื่อยที่ไม่อาจนับได้ด้วยตัวเลข เหมือนรถยนต์ที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูงคนขับไม่อาจใช้มือผลักกระจกด้านในให้รถหยุดได้
การเปลี่ยนฤดูโดยเดือนธค.เป็นฤดูร้อน ไม่เกิดขึ้นใด้ในระยะร้อยล้านปีนี้แน่นอน เพราะว่าปัจุบันแกนโลกเอียงไปทางทิศตะวันออก ทำให้ประเทศไทยได้รับแดดเต็มที่ในช่วงเดือนเมษายน ถ้าจะให้เดือนธค.เป็นหน้าร้อนต้องย้ายแกนโลกให้เอียงไปทางตะวันตก แค่องศาเดียวยังเป็นล้านปี แต่นี่ต้องย้ายถึงสามสิบองศา ต้องมีเวลาเป้นร้อยล้านปีแน่ๆ

สุนทรภู่

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต
สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลายๆ ส่วนในเรื่อง พระอภัยมณี
ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่นๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

รุ้งกินน้ำ

รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้แสงสีต่าง ๆ เกิดการหักเหขึ้น จึงเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า รุ้งปฐมภูมิจะประกอบด้วยสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง โดยมีสีม่วงอยู่ชั้นในสุดและสีแดงอยู่ชั้นนอกสุด ส่วนรุ้งทุติยภูมิจะมีสีเช่นเดียวกันแต่เรียงลำดับในทิศทางตรงกันข้าม
[แก้] การมองเห็น


ลักษณะการเกิดรุ้งกินน้ำ
เราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้เมื่อมีละอองน้ำในอากาศและมีแสงอาทิตย์ส่องมาจากด้านหลังของผู้สังเกตการณ์ในมุมที่สูงจากพื้นไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่รุ้งกินน้ำจะปรากฏให้เห็นชัดเจนเมื่อท้องฟ้าส่วนมากค่อนข้างมืดครึ้มด้วยเมฆฝน ส่วนผู้สังเกตการณ์อยู่ในที่พื้นที่สว่างซึ่งมีแสงส่องจากดวงอาทิตย์ จะทำให้มองเห็นรุ้งกินน้ำพาดผ่านฉากหลังสีเข้ม
ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำยังอาจพบเห็นได้ในบริเวณใกล้กับน้ำตกและน้ำพุ หรืออาจสร้างขึ้นเองได้โดยการพ่นละอองน้ำไปในอากาศกลางแสงแดด รุ้งกินน้ำยังอาจเกิดจากแสงอื่นนอกจากแสงอาทิตย์ ในคืนที่แสงจันทร์มีความสว่างมากๆ อาจทำให้เกิดรุ้งกินน้ำก็ได้ เรียกว่า moonbow แต่ภาพรุ้งที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างจางมองเห็นได้ไม่ชัด และมักมองเห็นเป็นสีขาวมากกว่าจะเห็นเป็นเจ็ดสี
การถ่ายภาพวงโค้งสมบูรณ์ของรุ้งกินน้ำทำได้ยาก เพราะจำเป็นต้องกระทำในมุมมองประมาณ 84° ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพแบบปกติ (35 mm) จะต้องใช้เลนส์ขนาดความยาว 19 mm หรือเลนส์ไวด์แองเกิลจึงจะใช้ได้ ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเครื่องบิน อาจมีโอกาสมองเห็นรุ้งกินน้ำแบบเต็มวงได้ โดยมีเงาของเครื่องบินอยู่ที่ศูนย์กลางวง

สึนามิ

สึนามิ (การออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นคือ /tsunami/ สึนะมิ[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งต่างกันเล็กน้อยกับการออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า /suːnɑːmi (ː)/ ซูนามิ หรือ /tsuːnɑːmi (ː)/ (ทซู) นามิ[ต้องการอ้างอิง] (ท ควบ ซ ในเสียงญี่ปุ่น) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ในลักษณะของระลอกคลื่น ที่เกิดขึ้นจากการที่น้ำในทะเลสาบหรือในท้องมหาสมุทรจำนวนมหาศาล เกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทจากบริเวณหนึ่งสู่อีกบริเวณหนึ่งอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินเคลื่อนตัว ภูเขาไฟระเบิด หรือจากวัตถุนอกโลก เช่น ดาวหาง หรืออุกกาบาต ตกสู่พื้นทะเลหรือมหาสมุทรบนผิวโลก คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นนี้จะถาโถมเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วยความรวดเร็วและรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่อาศัยที่พังพินาศไป พร้อม ๆ กับมนุษย์จำนวนมากมายที่อาจได้รับบาดเจ็บและล้มตายไปด้วยฤทธิ์ของมหาพิบัติภัยที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน[ต้องการอ้างอิง]
คำว่า "สึนามิ" มาจากภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า "ท่าเรือ" (津 สึ) และ "คลื่น" (波/浪 นะมิ) [ต้องการอ้างอิง] ศัพท์คำนี้บัญญัติขึ้นโดยชาวประมงญี่ปุ่น ผู้ซึ่งแล่นเรือกลับเข้าฝั่งมายังท่าเรือ และพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยรายล้อมอยู่รอบท่าเรือนั้นถูกทำลายพังพินาศไปจนหมดสิ้น โดยในระหว่างที่เขาลอยเรืออยู่กลางทะเลกว้างนั้นไม่ได้รู้สึกหรือสังเกตพบความผิดปกติของคลื่นดังกล่าวเลย ทั้งนี้เนื่องจากคลื่นสึนามิไม่ใช่ปรากฏการณ์ระดับผิวน้ำในเขตน้ำลึก เพราะคลื่นที่เกิดขึ้นจะมีขนาดของคลื่น (แอมพลิจูด) ขนาดเล็กมากเมื่ออยู่ในพื้นน้ำนอกชายฝั่ง ในขณะเดียวกันก็มีความยาวคลื่น ที่ยาวมาก (ปกติจะมีความยาวหลายร้อยกิโลเมตร) ทำให้คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นไม่สามารถสังเกตเห็นได้ขณะที่ลอยเรืออยู่บนผิวน้ำกลางทะเลลึก เนื่องจากคลื่นที่เกิดขึ้นจะเห็นเป็นเพียงแค่เนินต่ำ ๆ ตะคุ่ม ๆ อยู่ใต้น้ำเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
คลื่นสึนามินี้ ในทางประวัติศาสตร์มีการอ้างอิงถึงว่าเป็น คลื่นใต้น้ำ (tidal waves) เนื่องจากเมื่อคลื่นดังกล่าวเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่ง จะยิ่งมีลักษณะเหมือนการไหลท่วมของกระแสน้ำขึ้นที่ถาโถมเข้าสู่ฝั่งอย่างรุนแรง มากกว่าที่จะมีลักษณะเหมือนกับเกลียวคลื่นที่เกิดจากการพัดกระหน่ำของสายลมจากกลางมหาสมุทรเข้าสู่ฝั่ง เนื่องจากโดยแท้จริงแล้วคลื่นสึนามิไม่ได้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใด ๆ เลยกับน้ำขึ้นน้ำลง จึงมีการมองว่า คำว่า "tidal waves" นั้น อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดถึงสาเหตุของการเกิดคลื่นดังกล่าวได้[ต้องการอ้างอิง] นักสมุทรศาสตร์จึงไม่แนะนำให้เรียกคลื่นสึนามิว่า "tidal waves" แต่แนะนำให้เรียกเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Seismic Sea Wave" ซึ่งมีความหมายตรงๆ ในภาษาไทยว่า คลื่นทะเลที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือน[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้ ในเว็บไซต์และหนังสือบางเล่ม กล่าวถึงชื่อเรียกของคลื่นชนิดนี้ในภาษาอังกฤษผิด คือ "Harbor Wave" ซึ่งเป็นชื่อที่แปลอย่างตรงตัวจากภาษาญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ให้ความหมายใดๆ ในภาษาอังกฤษ[ต้องการอ้างอิง]
ทั้งนี้ ในพจนานุกรม Oxford Learner's Dictionary ได้ให้ความหมายของคำว่า Tidal Wave ไว้ว่าเป็นคลื่นทะเลที่ส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้สมุทร[ต้องการอ้างอิง]
[แก้] ลักษณะของคลื่น


ลักษณะการเกิดของสึนามิ
คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นน้ำธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง[ต้องการอ้างอิง]
คลื่นโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติสำคัญที่วัดได้อยู่สองประการคือ คาบ ซึ่งจะเป็นเวลาระหว่างลูกคลื่นสองลูก และ ความยาวคลื่น ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างลูกคลื่นสองลูก ในทะเลเปิด[ต้องการอ้างอิง] คลื่นสึนามิมีคาบที่นานมาก โดยเริ่มจากไม่กี่นาทีไปจนเป็นชั่วโมง ในขณะเดียวกันก็มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก โดยอาจยาวถึงหลายร้อยกิโลเมตร ในขณะที่คลื่นทั่วไปที่เกิดจาก ลมที่ชายฝั่งนั้นมีคาบประมาณ 10 วินาที และมีความยาวคลื่นประมาณ 150 เมตรเท่านั้น ความสูงของคลื่นในทะเลเปิดมักน้อยกว่าหนึ่งเมตร[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งทำให้ไม่เป็นที่สังเกตของผู้คนบนเรือ คลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมีความเร็วลดลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงมากกว่า 30 เมตร[ต้องการอ้างอิง]
คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวออกจากแหล่งกำเนิด ดังนั้น ชายฝั่งที่ถูกกำบังโดยแผ่นดินส่วนอื่นๆ มักปลอดภัยจากคลื่น อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่คลื่นจะสามารถเลี้ยวเบนไปกระทบได้ นอกจากนี้ คลื่นไม่จำเป็นต้องมีความแรงเท่ากันในทุกทิศทุกทาง โดยความแรงจะขึ้นกับแหล่งกำเนิดและลักษณะของภูมิประเทศแถบนั้น[ต้องการอ้างอิง]
คลื่นจะมีพฤติกรรมเป็น "คลื่นน้ำตื้น" เมื่ออัตราส่วนระหว่างความลึกของน้ำและขนาดของคลื่นนั้นมีค่าต่ำ ดังนั้น เนื่องจากมีขนาดของคลื่นที่สูงมาก คลื่นสึนามิจึงมีคุณสมบัติเป็นคลื่นน้ำตื้นแม้อยู่ในทะเลลึกก็ตาม คลื่นน้ำตื้นนั้นมีความเร็วเท่ากับรากที่สองของผลคูณระหว่างความเร่งจากสนามแรงโน้มถ่วง (9.8 เมตร/วินาที2) และความลึกของน้ำ ตัวอย่างเช่น ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร คลื่นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 200 เมตรต่อวินาที หรือ 720 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนที่ชายฝั่งที่มีความลึก 40 เมตร คลื่นจะมีความเร็วช้าลงเหลือ 20 เมตรต่อวินาที หรือ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
[แก้] สาเหตุการเกิด
คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชน[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกระทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]
นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของเทหวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้[ต้องการอ้างอิง]
[แก้] เมกะสึนามิ และ คลื่นเซช

แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดินไหว" (อังกฤษ: Seismology)
เนื้อหา
[ซ่อน]
• 1 แหล่งกำเนิด
• 2 สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
o 2.1 แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ
o 2.2 แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์
• 3 คลื่นในแผ่นดินไหว
• 4 ขนาดและความรุนแรง
o 4.1 มาตราริกเตอร์
o 4.2 มาตราเมร์กัลลี
• 5 การพยากรณ์แผ่นดินไหว
• 6 ข้อปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหว
o 6.1 ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
o 6.2 ขณะเกิดแผ่นดินไหว
• 7 ผลกระทบ
• 8 การป้องกันความเสียหาย
• 9 ความเชื่อในสมัยโบราณ
• 10 อ้างอิง
• 11 แหล่งข้อมูลอื่น