จำนวนผู้เข้าชม

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะภูมิประเทศทวีปเอเชีย

ลักษณะภูมิประเทศ
ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันหลายชนิด ในส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ได้ 5เขตคือ
1.เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปเอเชียในเขตไซบีเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขต โครงสร้างแบบหินเก่าที่เรียกว่า แองการาชีลด์ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำอ๊อบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีน่าไหลผ่าน บริเวณนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมาก แต่ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ราบ เพราะเนื่องจากมีภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทำการเพาะปลูกไม่ได้
2.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ และมักมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนใหญ่อยู่ทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มฮวงโห ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส ที่ราบลุ่มแม่น้ำยูเฟรทีส ในประเทศอิรัก ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินตอนล่าง ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในประเทศสหภาพพม่า
3.เขตเทือกเขาสูง เป็นเขตเทือกเขาหินใหม่ ตอนกลางประกอบไปด้วยที่ราบสูง และเทือกเขามากมาย เทือกเขาสูงเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาที่แยกตัว ไปจากจุดรวมที่เรียกว่า ปามีร์นอต หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ปามีร์ดุนยา แปลว่า หลังคาโลก จากปามีร์นอตมีเทือกเขาสูง ๆ ของทวีปเอเชียหลายแนว ซึ่งอาจแยกออกได้ดังนี้ เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา และเทือกเขาที่มีแนวต่อเนื่องลงมาทางใต้ มีบางส่วนที่ จมหายไปในทะเล และบางส่วนโผล่ขึ้นมาเกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ถัดจากเทือกเขาหิมาลัยขึ้นไปทางเหนือ มีเทือกเขา ที่แยกไปทางตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาคุนลุน เทือกเขาอัลตินตัก เทือกเขานานชาน และแนวที่แยกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เทือกเขาเทียนชาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาคินแกน เทือกเขายาโบลนอย เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโกลีมา เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันตก แยกเป็นแนวเหนือและแนวใต้ แนวเหนือ ได้แก่ เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูชร์ ส่วนแนวทิศใต้ ได้แก่ เทือกเขาสุไลมาน เทือกเขาซากรอส ซึ่งเมื่อเทือกเขาทั้ง 2 นี้มาบรรจบกันที่อาร์เมเนียนนอตแล้ว ยังแยกออกอีกเป็น 2 แนว ในเขตประเทศตุรกี คือ แนวเหนือเป็นเทือกเขาปอนติก และแนวใต้เป็นเทือกเขาเตารัส
4.เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป เขตที่ราบสูงตอนกลางเป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างเทือกเขาที่หินใหม่ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบตซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ และสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงยูนนาน ทางใต้ของประเทศจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะเหมือนแอ่ง ชื่อ ตากลามากัน ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชานกับ เทือกเขาคุนลุนแต่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากและมีอากาศแห้งแล้งเป็นเขตทะเลทราย
5.เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงขนาดใหญ่ ทางตอนใต้ของทวีปเอเชียซึ่งมีความสูงไม่มากเท่ากับที่ราบสูง ทางตอนกลางของทวีป ที่ราบสูงดังกล่าว ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่าน ในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกีและที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:26 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: ลักษณะภูมิประเทศทวีปเอเชีย
เมืองหลวงแต่ละประเทศ

ประเทศ
ชื่อเมืองหลวง
Afghanistan
Kabul
Albania
Tirana
Algeria
Algiers
Andorra
Andorra la Vella
Angola
Luanda
Antigua and Barbuda
St. John's
Argentina
Buenos Aires
Armenia
Yerevan
Australia
Canberra
Austria
Vienna
Azerbaijan
Baku
Bahamas
Nassau
Bahrain
Al-Man?mah
Bangladesh
Dhaka
Barbados
Bridgetown
Belarus
Mensk (Minsk)
Belgium
Brussels
Belize
Belmopan
Benin
Porto-Novo (official)
Bhutan
Thimphu (official)
Bolivia
Sucre, 204,200; Administrative capital: La Paz
Bosnia and Herzegovina
Sarajevo
Botswana
Gaborone
Brazil
Bras?lia
Brunei
Bandar Seri Begawan
Bulgaria
Sofia
Burkina Faso
Ouagadougou
Burundi
Bujumbura
Cambodia
Phnom Penh
Cameroon
Yaound
Canada
Ottawa, Ontario
Cape Verde
Praia
Central African Republic
Bangui
Chad
N'Djamena
Chile
Santiago
China
Beijing
Colombia
Santaf? de Bogot
Comoros
Moroni (on Grande Comoro)
Congo, Democratic Republic of the
Kinshasa
Congo, Republic of
Brazzaville
Costa Rica
San Jos
C?te d'Ivoire
Yamoussoukro (official)
Croatia
Zagreb
Cuba
Havana
Cyprus
Lefkosia (Nicosia) (in government-controlled area)
Czech Republic
Prague
Denmark
Copenhagen
Djibouti
Djibouti
Dominica
Roseau
Dominican Republic
Santo Domingo
East Timor
Dili
Ecuador
Quito
Egypt
Cairo
El Salvador
San Salvador
Equatorial Guinea
Malabo
Eritrea
Asmara
Estonia
Tallinn
Ethiopia
Addis Ababa
Fiji
Suva (on Viti Levu)
Finland
Helsinki
France
Paris
Gabon
Libreville
Gambia
Banjul
Georgia
Tbilisi
Germany
Berlin
Ghana
Accra
Greece
Athens
Grenada
St. George's
Guatemala
Guatemala City
Guinea
Conakry
Guinea-Bissau
Bissau
Guyana
Georgetown
Haiti
Port-au-Prince
Honduras
Tegucigalpa
Hungary
Budapest
Iceland
Reykjavik
India
New Delhi
Indonesia
Jakarta
Iran
Teheran
Iraq
Baghdad
Ireland
Dublin
Israel
Jerusalem
Italy
Rome
Jamaica
Kingston
Japan
Tokyo
Jordan
Amman
Kazakhstan
Astana
Kenya
Nairobi
Kiribati
Tarawa
Korea, North
Pyongyang
Korea, South
Seoul
Kuwait
Kuwait
Kyrgyzstan
Bishkek (formerly Frunze)
Laos
Vientiane
Latvia
Riga
Lebanon
Beirut
Lesotho
Maseru
Liberia
Monrovia
Libya
Tripoli
Liechtenstein
Vaduz
Lithuania
Vilnius
Luxembourg
Luxembourg
Macedonia
Skopje
Madagascar
Antananarivo
Malawi
Lilongwe
Malaysia
Kuala Lumpur
Maldives
Male
Mali
Bamako
Malta
Valletta
Marshall Islands
Majuro
Mauritania
Nouakchott
Mauritius
Port Louis
Mexico
Mexico City
Micronesia
Palikir
Moldova
Chisinau
Monaco
Monaco
Mongolia
Ulaan Baatar
Montenegro
Podgorica (administrative capital)
Morocco
Rabat
Mozambique
Maputo
Myanmar
Rangoon (Yangon)
Namibia
Windhoek, 221,000. Summer capital: Swakopmund
Nauru
Yaren
Nepal
Kathmandu
Netherlands
Amsterdam (official)
New Zealand
Wellington
Nicaragua
Managua
Niger
Niamey
Nigeria
Abuja
Norway
Oslo
Oman
Muscat
Pakistan
Islamabad
Palau
Koror
Palestinian State (proposed)
Undetermined
Panama
Panama City
Papua New Guinea
Port Moresby
Paraguay
Asunci?n
Peru
Lima
Philippines
Manila
Poland
Warsaw
Portugal
Lisbon
Qatar
Doha
Romania
Bucharest
Russia
Moscow
Rwanda
Kigali
St. Kitts and Nevis
Basseterre (on St. Kitts)
St. Lucia
Castries
St. Vincent and the Grenadines
Kingstown
Samoa
Apia
San Marino
San Marino
S?o Tom? and Pr?ncipe
S?o Tom
Saudi Arabia
Riyadh
Senegal
Dakar
Serbia
Belgrade
Seychelles
Victoria
Sierra Leone
Freetown
Singapore
Singapore
Slovakia
Bratislava
Slovenia
Ljubljana
Solomon Islands
Honiara (on Guadalcanal)
Somalia
Mogadishu
Spain
Madrid
Sri Lanka
Colombo
Sudan
Khartoum
Suriname
Paramaribo
Swaziland
Mbabane
Sweden
Stockholm
Switzerland
Bern
Syria
Damascus
Taiwan
Taipei
Tajikistan
Dushanbe
Tanzania
Dodoma
Thailand
Bangkok
Togo
Lom
Tonga
Nuku'alofa
Trinidad and Tobago
Port-of-Spain
Tunisia
Tunis
Turkey
Ankara
Turkmenistan
Ashgabat
Tuvalu
Funafuti
Uganda
Kampala
Ukraine
Kyiv (Kiev)
United Arab Emirates
Abu Dhabi
United Kingdom
London
United States
Washington DC
Uruguay
Montevideo
Uzbekistan
Tashkent
Vanuatu
Port Vila
Venezuela
Caracas
Vietnam
Hanoi
Western Sahara (proposed state)
El Aaiun
Yemen
Sana
Zambia
Lusaka
Zimbabwe
Harare
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:20 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: เมืองหลวงแต่ละประเทศ
วันวิทยาศาสตร์

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติ
2 กิจกรรม
3 คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
4 อ้างอิง
//
[แก้] ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพร่วมกับเจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกต่างประเทศ ณ ค่ายหลวงหว้ากอ
รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์
ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:17 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: วันวิทยาศาสตร์
วันคริสมาสต์

คริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas, Christ's mass, Xmas Nativity, Yuletide, Noel หรือ Winter Pascha) เป็นเทศกาลประจำปี ซึ่งในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู[1][2] ในหลายประเทศ คริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี (ในอาร์เมเนีย ตรงกับวันที่ 6 มกราคม และในนิกายออร์โธด็อกซ์บางส่วน ตรงกับวันที่ 7 มกราคม[3]) แต่ก็ไม่เป็นที่เชื่อกันว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระเยซูจริง สำหรับสาเหตุที่เลือกวันดังกล่าวแต่เดิมมีอยู่หลายประเด็น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า วันนี้เป็นเวลาเก้าเดือนพอดีหลังจากนางมารีย์รับการประสูติของพระเยซู[4] ตรงกับเทศกาลบูชาสุริยเทพของโรมันโบราณ[5] หรือไม่ก็ตรงกับเหมายันในซีกโลกเหนือ[6] คริสต์มาสเป็นศูนย์กลางของคริสต์มาสและเทศกาลวันหยุด ในศาสนาคริสต์ คริสต์มาสเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นวันหยุดยาว 12 วัน[7]
ถึงแม้ว่าแต่เดิมคริสต์มาสจะเป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองโดยคริสเตียน แต่ผู้ที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากก็ได้จัดงานเฉลิมฉลองคริสต์มาสอย่างกว้างขวาง[8][9][10] และประเพณีที่ได้รับความนิยมของคริสต์มาสในปัจจุบันมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนศาสนาคริสต์หรือมาจากทางโลก ซึ่งรวมไปถึง การให้ของขวัญ เพลงคริสต์มาส การแลกเปลี่ยนการ์ดคริสต์มาส การตกแต่งโบสถ์คริสต์ การรับประทานอาหารมื้อพิเศษ และการตกแต่งอาคารต่าง ๆ ด้วยต้นคริสต์มาส มิสเซิลโท หรือฮอลลี่ เป็นต้น และยังมีตำนานอันเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเกี่ยวกับซานตาคลอส (หรือ ฟาเธอร์คริสต์มาส) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญแก่เด็ก ๆ ระหว่างเทศกาลคริสต์มาส[11]
เนื่องจากการให้ของขวัญและผลกระทบจากเทศกาลคริสต์มาสในอีกหลายแง่มุมได้ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก ทั้งในกลุ่มคริสเตียนและผู้ที่ไม่ใช่คริสเตียน วันดังกล่าวจึงกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญและช่วงเวลาสำหัรบสินค้าลดราคาสำหรับผู้ค้าปลีกและธุรกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของคริสต์มาสเป็นปัจจัยที่ได้เติบโตขึ้นอย่างคงที่ตลอดช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายภูมิภาคของโลก
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:13 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: วันคริสมาสต์
ผลไม้นานาชนิด

คำนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่า สิ่งที่เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช โดยลักษณะรวมๆ จะมีรูปทรงคล้ายทรงกลมหรือทรงรี ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันบ้างตามสายพันธุ์ โดยปกติผลไม้จะต้องมีเปลือกหรือมีสิ่งที่ห่อหุ้มเนื้อที่อยู่ข้างใน ซึ่งมักจะถูกนำไปรับประทานโดยมนุษย์หรือสัตว์
ในส่วนของการเจริญเติบโต สามารถขยายพันธุ์ได้โดยดอก เมล็ด หรือ อื่นๆ ซึ่งผลไม้ที่ออกมานี้ตอนแรกจะมีขนาดเล็กและมักจะไม่ค่อยถูกนำมารับประทานโดยมนุษย์ แต่เมื่อเติบโตจนสุกงอม จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม คือ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม และรสหวาน เป็นต้น จนสามารถนำมารับประทานหรือประกอบอาหาร ส่วนมากมักจะเป็นอาหารหวาน
ถ้าผลไม้สุกงอมเต็มที่จะมีลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้น้อยลง เช่น เน่าเสีย บูด ขึ้นรา เป็นต้น และจะหลุดร่วงจากต้นลงสู่พื้นดินหรือพื้นน้ำ กลายเป็นอาหารให้แก่ห่วงโซ่อาหารลำดับถัดไป เช่น แบคทีเรีย จุรินทรีย์ จนกลายเป็นอินทรียธาตุหรืออนินทรียธาตุ หมุนเวียนเป็นวัฏจักรต่อไป
การที่จะบอกได้ว่าเป็นผลไม้อะไรนั้น จำเป็นต้องมีสิ่งบ่งชี้อื่นๆ ประกอบหลายอย่าง เช่น เปลือกมีลักษณะเป็นหนามและแข็ง เนื้อข้างในสีเหลือง หมายถึง ทุเรียน เป็นต้น
[แก้] ผลไม้ในความหมายพฤกษศาสตร์กับผลไม้ในความหมายทั่วไป
ผลไม้ในความหมายทั่วไป หมายถึง ผลไม้ที่สามารถรับประทาน โดยไม่ต้องนำไปปรุงในครัวก่อนแต่มีรสชาติที่ดี ซึ่งอาจจะต้องปอกเปลือกก่อนรับประทาน ดังนั้นอาหารหลายชนิดจึงเป็นผลไม้ในเชิงพฤกศาสตร์แต่กลับถูกจัดว่าเป็นผักในเชิงการทำครัว. อันได้แก่ผลของพืชจำพวกฟัก (เช่น ฟักทอง แฟง และ แตงกวา), มะเขือเทศ, ถั่วลันเตา, ถั่วฝักยาว, ข้าวโพด, พริกหยวก, เครื่องเทศ
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:13 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: ผลไม้นานาชนิด
กีฬาไทย

กีฬาไทยจัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ มีความงดงามและทรงคุณค่า ซึ่งบรรพบุรุษได้ค้นคิด สืบสาน ถ่ายทอดและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ การเล่นกีฬานอกนจากจะช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว กีฬาหลายประเภทยังช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหวพริบปฎิภาน รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถหลบหลีกคู่ต่อสู้ได้ กีฬาบางชนิดใช้ผู้เล่นเป็นหมู่คณะ ทำให้ผู้เล่นรู้จักมีความรักความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตลอดจนเป็นคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่ แม้ว่าจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคสมัยก็ตาม แต่ด้วยความสำนึกของความเป็นไทย เราควรร่วมกันสนับสนุนและร่วมส่งเสริม ภูมิปัญญากีฬาไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:10 0 ความคิดเห็น
วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ผังงานคอมพิวเตอร์



(After studying this chapter, you will be able to)
1. อธิบายความหมายผังงานระบบ
2. จัดประเภทผังงานคอมพิวเตอร์
3. ยกตัวอย่างขั้นตอนการใช้ผังงานระบบและผังงานโปรแกรม
4. บอกประโยชน์และข้อจำกัดของผังงานระบบ
5. อธิบายความหมายสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบ
6. เข้าใจหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์งาน
7. สรุปหลักทั่วไปในการเขียนผังงาน
8. จัดบอร์ดเชิงปฏิบัติการ”หลักการเขียนผังงานระบบ”
9. สนทนาเชิงปฏิบัติการ”สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบ”
10. สนทนา”การเขียนผังงานระบบที่ดีควรมีหลักเกณฑ์อย่างไร”
11. อธิบายคำศัพท์ได้ 10 คำ
บทที่ 6
หลักการเขียนผังงานระบบ
ผังงานระบบ คือ รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนลำดับ หรือขั้นตอนในโปรแกรมรูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นเอกลักษณ์ และแทนความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยทั่วไปผังงานคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. ผังงานระบบ(System Flowchat)
เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานภายในระบบหนึ่ง ๆ โดยจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องของส่วนที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบนั้น เช่น เอกสารเบื้องต้น หรือสื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้อยู่เป็นอะไร และผ่านไปยังหน่วยงานใด มีกิจกรรมอะไรในหน่วยงานนั้น แล้วจะส่งต่อไปหน่วยงานใด เป็นต้น ดังนั้นผังงานระบบอาจเกี่ยวข้องกับคน วัสดุ และเครื่องจักร ซึ่งแต่ละจุดจะประกอบไปด้วย การนำข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผลและการแสดงผลลัพธ์ (Input – Process - Output) ว่ามาจากที่ใดอย่างกว้าง ๆ จึงสามารถเขียนโปรแกรมจากผังงานระบบได้
2. ผังงานโปรแกรม(Program Flowchat) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ผังงาน
ผังงานประเภทนี้แสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม ผังงานนี้อาจสร้างจากผังงานระบบโดยผู้เขียนผังงานจะดึงเอาแต่ละจุดที่เกี่ยวข้องการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในผังงานระบบมาเขียน เพื่อให้ทราบว่าถ้าจะใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในจุดนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตามต้องการ ควรที่จะมีขั้นตอนคำสั่งอย่างไร และจะได้นำมาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานต่อไป
การใช้งานผังงานระบบ
เพื่อให้ทราบถึงความเกี่ยวพันของระบบตังแต่เริ่มต้น ว่ามีการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างไร ใช้วิธีการอะไรบ้าง เหมาะสำหรับผู้บริหาร ผู้วิเคราะห์ระบบ และผู้เขียนโปรแกรม จะไดทราบถึง ความสัมพันธ์ ของแผนกต่าง ๆ
ตัวอย่าง ผังงานระบบและผังงานโปรแกรมของการคำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม 100 รูป

ประโยชน์และข้อจำกัดของผังงานระบบ
ผังงานระบบเป็นเอกสารประกอบโปรแกรม ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาลำดับขั้นตอนของโปรแกรมง่ายขั้น จึงนิยมเขียนผังงานระบบประกอบการเขียนโปรแกรม ด้วยเหตุผลดังนี้
1 คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้และเข้าใจผังงานระบบได้ง่าย เพราะผังงานระบบไม่ขั้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ
2 ผังงานระบบเป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาถึงลำดับข้นตอนในการทำงาน ซึ่งน่าจะดีกว่าบรรยายเป็นตัวอักษร การใช้ข้อความหรือคำพูดอาจจะสื่อความหมายผิดไปได้
3 ในงานโปรแกรมที่ไม่สลับซับซ้อน สามารถใช้ผังงานระบบตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่าย ถ้ามีที่ผิดในโปรแกรมจะแก้ไขได้สะดวกและรวดเร็วขั้น
4 การเขียนโปรแกรมโดยพิจารณาจากผังงานระบบ สามารถทำให้รวดเร็วและง่ายขั้น
5 การบำรุงรักษาโปรแกรมหรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพถ้าดูจากผังงานระบบจะช่วยให้สามารถทบทวนงานในโปรแกรมก่อนปรับปรุงได้ง่ายขั้น
ข้อจำกัดของผังงานระบบ
ผู้เขียนโปรแกรมบางคนไม่นิยมการเขียนผังงานระบบก่อนที่จะเขียนโปรแกรมเพราะ
เสียเวลาในการเขียนเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ ได้แก่
1 ผังงานระบบเป็นการสื่อความหมาระหว่างบุคคลต่อบุคคลมากกว่าที่จะสื่อความหมายระหว่างบุคคลกับเครื่อง เพราะผังงานระบบไม่ขึ้นอยู่กับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ทำให้เครื่องไม่สามารถรับและเข้าใจว่าในผังงานระบบนั้นต้องการให้ทำอะไร
2 บางครั้งเมื่อพิจารณาจากผังงานระบบ จะไม่สามารถทราบได้ว่า ขั้นตอนการทำงานใดสำคัญกว่ากัน เพราะทุก ๆ ขั้นนอนจะใช้รูปาภพหรือสัญลักษณ์ในลักษณะเดียวกัน
3การเขียนผังงานระบบเป็นการสิ้นเปลือง เพราะจะต้องใช้กระดาษและอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบการเขียนภาพ บางครั้งการเขียนผังงานระบบอาจจะต้องใช้กระดาษมากกว่า 1 แผ่นทั้ง ๆ ที่การอธิบายงานเดียวกันจะใช้เนื้อที่เพียง 3-4 บรรทัดเท่านั้น
4 ผังงานระบบจะมีขนาดใหญ่ ถ้าโปรแกรมที่พัฒนาเป็นงานใหญ่ ทำให้ผังงานระบบแลดูเทอะทะไม่คล่องตัว และถ้ามีการปรับเปลี่ยนผังงานระบบจะทำได้ยาก บางครั้งอาจจะต้องเขียนผังงานขั้นใหม่
5 ในผังงานระบบจะบอกขั้นตอนการปฏิบัติงานว่าเป็นลำดับอย่างไร ปฏิบัติงานอะไรแต่จะไม่ระบุให้ทราบว่าทำไมจึงต้องเป็นลำดับและต้องปฏิบัติงานอย่างนั้น
6 ในภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ภาษาซี ผังงานระบบไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งในภาษาได้ชัดเจน ตรงไปตรงมา
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบ
การเขียนผังงานระบบต้องใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ นำมาเรียงกัน เพื่อแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน โดยมีลูกศรเชื่อมระหว่างภาพต่าง ๆ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงานระบบที่นิยมใช้กันนั้นเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) และองค์การมาตรฐานนานาชาติ
(International Standard Organization : ISO)หน่วยงานดังกล่าว ทำหน้าที่รวบรวมและกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานที่จะใช้เขียนผังงานระบบ ดังนี้
ตารางที่ 6.1 แสดงสัญลักษณ์และความหมายของผังงานระบบ

หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์งาน
การวิเคราะห์งานหรือการวิเคราะห์ปัญหา นับวาเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ต่าง ๆ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน การวิเคราะห์งานเป็นการศึกษาถึงลักษณะและรายละเอียดของปัญหาเกี่ยวกับงานที่ต้องการเขียนโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์นำมาศึกษา วิเคราะห์และดีความเพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายนั้นได้ดียิ่งขั้นเช่น ต้องการให้เครื่องทำงานอะไร ลักษณะผลลัพธ์ที่ต้องการแสดง วิธีการประมวลผลที่ต้องใช้ และข้อมูลที่จะต้องป้อนเข้าไป
กล่าวโดยสรุป การวิเคราะห์งานจะเป็นการศึกษาผลลัพธ์(Output) ข้อมูลที่นำเข้า (Input) และวิธีการประมวลผล(Process) รวมทั้งการกำหนดชื่อตัวแปร (Variable) ที่จะใช้ในโปรแกรมนั่นเองวิธีการวิเคราะห์งานให้ได้ผลดีนั้นมีหลายแบบ แต่หลักเกณฑ์ใหญ่ ๆ ที่นิยมใช้กันอย่างทั่วไปสามารพแยกเป็นข้อ ๆ ด้ามลำดับดังต่อไปนี้
1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ หมายถึง สิ่งที่ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้ เช่น ต้องการให้คำนวณคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษา ต้องการให้คำนวณเงินเดือนและค่าแรง เป็นต้นงานแต่ละชิ้นอายต้องกานใช้เครื่องทำงานให้มากว่าหนึ่งอย่าง ซึ่งควรจะเขียนไว้เป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน การพิจารณาถึงสิ่งที่โจทย์ต้องการเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ทราบก็ไม่สามารถจะทำขั้นตอนต่อไปได้เลย หรือถ้าเข้าใจส่วนนี้ผิดก็จะทำให้งานขั้นตอนต่อไปผิดหมด
2 ผลลัพธ์ที่ต้องแสดง (Output) หมายถึง การวิเคราะห์ลักษณะของงาน หรือรูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์แสดงออกมาว่าควรจะมีลักษณะอย่างไร มีรายละเอียดที่ต้องการให้แสดงในรายงานมากน้อยเพียงใด หรือรายละเอียดชนิดใดที่ไม่ต้องการให้แสดงออกมาในรายงาน ในกรณีนี้เป็นหน้าที่ของผู้เขียนโปรแกรมเองว่าจะต้องการรูปแบบรายงานออกมาโดยมีรายละเอียดที่จำเป็นและสวยงามเพียงใด เนื่องจากรายงานหรือผลลัพธ์นี้มีความสำคัญต่อผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารจะใช้รายงานหรือผลลัพธ์ไปช่วยในการตัดสินใจวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
3 ข้อมูลที่ต้องนำเข้า (Input) หมายถึง ข้อมูลที่ต้องป้อนเข้ามาเพื่อใช้ในการประมวลผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ลักษณะของผลลัพธ์ คือ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของ Output ที่แน่นอนแล้ว ข้อมูลที่ต้องนำเข้าไปก็ควรจะพิจารณาให้เหมาะสมกับผลลัพธ์ที่ต้องการแสดงด้วย ทั้งนี้อาจจะต้องพิจารณาถึงขั้นตอนในการประมวลผลควบคู่ไปด้วย
4 ตัวแปรที่ใช้ (Variable) หมายถึง การกำหนดชื่อแทนความหมายของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการอ้างถึงข้อมูลนั้น และการเขียนโปรแกรมด้วยการตั้งชื่อตัวแปรที่ใช้ควรคำนึงถึงความหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล การตั้งขื่อตัวแปรนี้จะขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพราะภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละภาษามีกฎเกณฑ์และความสามารถในการตั้งตัวแปรแตกต่างกันไป แต่โดยทั่ว ๆ ไป การตั้งชื่อตัวแปรจะพิจารณาความหมายของข้อมูลว่าตรงกับคำใดในภาษาอังกฤษ แล้วนำมาตัดแปลงหรือย่อให้เข้ากับหลักเกณฑ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้
5 วิธีการประมวลผล (Processing) หมายถึงวิธีการประมวลผลโดยแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องทำตามาลำดับ เริ่มจาการรับข้อมูลนำไปประมวลผลจนได้ผลลัพธ์ ขั้นตอนนี้จะต้องแสดงการทำงานที่ต่อเนื่องตามลำดับ จึงต้องจัดลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง ในขั้นตอนของวิธีการนี้ถ้ายิ่งกระทำให้ละเอียดก็จะช่วยในการเขียนโปรแกรมยิ่งง่ายขึ้น
หลักทั่วไปในการเขียนผังงานระบบ
การเขียนผังงานระบบอาจจะเขียนลงในกระดาษที่มีแบบฟอร์มมาตรฐานที่เรียกว่า Flowchart Worksheet ซึ่งจะช่วยให้เขียนผังงานระบบได้สะดวกขึ้น ประหยัดเนื้อที่ ง่ายต่อการติดตามจุดต่อและดูเรียบร้อย หรือจะใช้กระดาษธรรมดาเขียนก็ได้ การเขียนรูปหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในผังงานระบบ จะใช้ Flowchart Template ซึ่งเป็นแผ่นพลาสติกที่มีช่องเจาะเป็นรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของผังงานระบบเข้าช่วยก็ได้ ปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนผังงานระบบที่มีความสวยงามและเป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
ในการเขียนผังงานระบบที่ดี ควรมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1 มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานเพียงจุดเดียวในหนึ่งผังงานระบบ
2 มีทางออกจากสัญลักษณ์ใด ๆ เพียงทางเดียว ยกเว้นสัญลักษณ์แสดงการตัดสินใจ สามารถมีทางออกมาตั้งแต่ 2 ทางได้
3 มีการเข้าสู่สัญลักษณ์ใด ๆ เพียงทางเดียว ถ้าต้องการกระทำกระบวนการเดียวกันควรใช้สัญลักษณ์ตัวเชื่อม
4 ทิศทางลำดับของขั้นตอน ควรจะเริ่มจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา
5 ข้อความที่บรรจุในสัญลักษณ์ควรสั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย
6 ขนาดของสัญลักษณ์ที่ใช้ควรมีขนาดที่เหมาะสม สวยงาม
7 เส้นทางที่ใช้ในผังงานควรเป็นระเบียบเรียบร้อย ชัดเจน ไม่พันกันไปมาจนไม่สามารถทราบจุดตั้งต้นและจุดสิ้นสุดที่แน่นอนได้
แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ
บทที่ 6 หลักการเขียนผังงานระบบ
ตอนที่ 1
1. จงอธิบายความหมายของผังงานระบบ
ตอบ เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานภายในระบบงานหนึ่ง ๆ โดยจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องของส่วนที่สำคัญต่าง ๆ ในระบบนั้น
2. จงอธิบายประโยชน์และข้อจำกัดของผังงานระบบ
ตอบ 1. คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้และเข้าใจผังงานระบบได้ง่าย
2. เป็นการสื่อความหมายด้วยภาพ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการพิจารณาถึงลำดับขั้นตอนการทำงาน
3. ในโปรแกรมที่ไม่สลับซับซ้อน สามารถใช้ผังงานระบบตรวจสอบความถูกต้องของลำดับขั้นตอนได้ง่าย
4. การเขียนโปรแกรมโดยพิจารณาจากผังงานระบบ ทำให้รวดเร็วและง่ายขึ้น
5. การบำรุงรักษาโปรแกรมหรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมให้มีประสิทธิผล
3. ผลลัพธ์ที่ต้องแสดง หมายถึง อะไร
ตอบ การวิเคราะห์ลักษณะของงาน หรือรูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการให้คอมฯแสดงออกมาว่าควรจะมีลักษณะอย่างไร มีรายละเอียดที่ต้องการให้แสดงในรายงานมากน้อยเพียงใด
4. ข้อมูลนำเข้า หมายถึง อะไร
ตอบ ข้อมูลที่ต้องป้อนเข้ามาเพื่อใช้ในการประมวลผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ลักษณะของผลลัพธ์
5. ตัวแปรที่ใช้ หมายถึงอะไร
ตอบ การกำหนดชื่อแทนความหมายของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงข้อมูลนั้น การตั้งชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของภาษาคอมฯใช้ในการเขียนโปรแกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น